ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไปจังหวัดสุรินทร์

แผนที่จังหวัดสุรินทร์
แผนที่จังหวัดสุรินทร์
จังหวัด สุรินทร์ได้รับการสันนิษฐานจากนักประวัติศาสตร์ว่าพื้นที่อันเป็นที่ตั้ง เมืองสุรินทร์มีชุมชนอาศัยอยู่เมื่อประมาณ 2,000 ปีล่วงมาแล้ว ในสมัยที่พวกขอมเรืองอำนาจเมื่อขอมเสื่อมอำนาจลงเมืองสุรินทร์ได้ถูกทิ้ง ร้างจนกลายเป็นป่าดงอยู่นานจนกระทั่งในสมัยกรุงศรีอยุธย ตอนปลาย พ.ศ. 2260 ชาวพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่าส่วยหรือกูยซึ่งอาศัยอยู่แถบเมือง อัตปือแสนแป แคว้นจำปาศักดิ์ซึ่งขณะนั้นเป็น ดินแดนของไทย และเป็น ผู้ที่มีความสามารถในการจับช้างป่า   มาเลี้ยงไว้ใช้งานเป็นอย่างมากได้พากันอพยพข้ามลำน้ำโขง   มาสู่ฝั่งขวาโดย   ได้แยกย้ายกันไปตั้งชุมชนที่เมืองลีง (อำเภอจอมพระ) บ้านโคกลำดวน(อำเภอขุขันธ์จังหวัดศรีสะเกษ) บ้านอัจจะปะนึ่ง(อำเภอสังขะ) และบ้าน กุดปะไท (อำเภอศีขรภูมิ) แต่ละ บ้านจะมี หัวหน้าควบคุมอยู่
ใน ปีพ.ศ. 2306 หลวงสุรินทรภักดีหรือเชียงปุมหัวหน้าหมู่บ้านเมืองทีได้ขอให้เจ้าเมืองพิ มายกราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระเจ้าอยู่หัว   พระที่นั่งสุริยามรินทร์ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองทีมาตั้งอยู่ที่บริเวณบ้าน คูประทายบริเวณซึ่งเป็นที่ตั้งเมืองสุรินทร์ในปัจจุบันนี้เนื่องจากเห็นว่า เป็นบริเวณที่มีชัยภูมิเหมาะสม มีกำแพงค่ายคูล้อมรอบ 2ชั้นมีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การประกอบอาชีพและอยู่อาศัย ต่อมาหลวงสุรินทร์ภักดีได้กระทำความดีความชอบเป็นที่โปรดปรานพระเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งสุริยามรินทร์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านคูประทาย เป็นเมืองประทายสมันต์และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงสุรินทรภักดีเป็นพระยาสุริน ทรภักดีศรีณรงค์จางวางให้เป็นเจ้าเมืองปกครอง
ใน ปีพ.ศ. 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนชื่อเมืองประทายสมันต์เป็นเมืองสุรินทร์ ตามสร้อยบรรดาศักดิ์เจ้าเมืองเมืองสุรินทร์มีเจ้าเมืองปกครองสืบเชื้อสายกัน มารวม 11 คน  จนถึงป ีพ.ศ.2451 ได้มีการปรับปรุงระบบบริหารราชการแผ่นดินเป็นแบบเทศาภิบาลส่วนกลางจึงได้ แต่งตั้งพระกรุงศรีบุรีรักษ์(สุม สุมานนท์)มาดำรงตำแหน่งเป็น ข้าหลวงประจำจังหวัดหรือผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นคนแรก
ที่ตั้งและอาณาเขต
จังหวัด สุรินทร์ ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ระหว่างเส้นแวงที่ 103 องศา และ 105 องศาตะวันออก และระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 องศา และ องศาเหนือ ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 450 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ            ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม
ทิศตะวันออก      ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ
ทิศใต้                 ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา
ทิศตะวันตก        ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์
ลักษณะภูมิประเทศ
จังหวัดสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 8,124 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,077,535 ไร่คิดเป็นร้อยละ 4.8 ของพื้นที่ภาคตะ วันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้คือบริเวณซึ่งติดต่อกับราชอาณาจักร กัมพูชา มีป่าทึบและภูเขาสลับซับซ้อน ถัดจากบริเวณภูเขา จะเป็นที่ราบสูงลุ่มๆ ดอนๆ ลักษณะลูกคลื่นลอนลาดบริเวณตอนกลาง ของจังหวัด จะเป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ มีที่ราบสูงอยู่บางตอน ด้านเหนือของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำไหลผ่าน
จังหวัด สุรินทร์มีลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 8 สายดังนี้คือ แม่นำมูล ลำน้ำชี ห้วยเสนง ลำห้วยพลับพลา ลำห้วยระวี ลำห้วยทับทัน ลำห้วยระหารและลำห้วยแก้ว เป็นลำน้ำที่ทำประโยชน์ให้แก่จังหวัดสุรินทร์ นอกจาก 8 แห่งนี้แล้ว ยังมีลำน้ำและหนองนำอีกมากมายกระจัดกระจายอยู่ในอำเภอต่างๆแต่แหล่งน้ำต่างๆ ดังกล่าวไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่เกษตรกรได้มากนัก ในฤดูแล้งส่วนใหญ่น้ำจะแห้ง เว้นแต่ลำน้ำมูลซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี
จังหวัด สุรินทร์ มีพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตป่าจำนวน 1,382,625 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 27.23 ของพื้นที่จังหวัดไม่มีอุทยานแห่งชาติมีวนอุทยานจำนวน 2 แห่ง คือวนอุทยานพนมสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ เนื้อที่ 2,500 ไร่ และวนอุทยานป่าสนหนองคู อำเภอสังขะ เนื้อที่ 625 ไร่และมีเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า 1 แห่งคือเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยสำราญ – ห้วยทับทัน อยู่ในพื้นที่กิ่งอำเภอพนมดงรัก, อำเภอกาบเชิง, อำเภอสังขะ และอำเภอบัวเชด เนื้อที่ 313,750 ไร่